สาระความรู้เชิงวิชาการ

ธาตุเหล็ก

• ธาตุเหล็กเป็นธาตุที่มีอยู่ในดินมากและละลายในรูปของสารละลายที่พืชใช้ได้ค่อนข้างน้อย ถึงแบบนั้นก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เนื่องจากพืชใช้ธาตุเหล็กค่อนข้างน้อยมากด้วยเช่น แต่ถึงแบบนั้นหากขาดธาตุนี้ไปก็จะส่งผลให้กับผลผลิตของพืชผลลดต่ำลงได้เช่นกัน ซึ่งผลผลิตที่น้อยย่อมส่งผลต่อกำไรที่จะได้น้อยลงด้วยนั่นเอง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

ธาตุโมลิบดินัม 
• ธาตุโมลิบดินัมเป็นธาตุที่พืชต้องการน้อยที่สุดในบรรดาธาตุกลุ่มจุลธาตุนี้ แต่กลับมีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นเหมือนตัวเชื่อมให้ธาตุต่างๆ ทำงานได้ปกติ โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ซึ่งถ้าขาดไปจะทำให้การเจริญเติบโตของพืชไม่ดี การสุกแก่ของพืชเป็นได้ช้ากว่าปกติ ทำให้ต้องเสียเวลาหรือทำให้ผลผลิตมีรสชาติไม่ได้มาตรฐานไปเลยก็ได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

ธาตุโบรอน
• ธาตุโบรอนเป็นธาตุที่ส่งผลกับการออกดอกของพืช ช่วยในการผสมเกสร และยังช่วยให้ธาตุไนโตรเจนกับแคลเซียมทำงานได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งหากขาดธาตุนี้ไปจะส่งผลต่อพัฒนาการของต้นพืชรวมถึงผลผลิตในอนาคตอย่างแน่นอน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

ธาตุคลอรีน 
• คลอรีนเป็นธาตุอาหารพืชที่สามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป และมีคำเตือนในหมู่เกษตรกรบางกลุ่มว่าไม่ควรเอาน้ำปะปารดน้ำต้นไม้ นั่นเพราะน้ำประปามักจะมีคลอรีนผสมอยู่ซึ่งหากใช้รดมากๆ และบ่อยครั้งเข้าอาจทำให้พืชของเราอยู่ในสภาวะคลอรีนเป็นพิษนั่นเอง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

ธาตุแมงกานีส 
• ดินเหนียวจัดว่าเป็นดินที่มีแร่ธาตุอาหารอยู่ในปริมาณเข้มข้น มีความอุดมสมบูรณ์ที่สูง แต่แร่ธาตุบางตัวก็ไม่ออกหลุดออกจากดินเพื่อไปเลี้ยงบำรุงต้นพืชได้ เช่นเดียวกับกรณีของธาตุแมงกานีสนี่ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากพืชไม่ได้รับในปริมาณที่พอเหมาะจะส่งผลต่อการออกช่อดอก ขนาดผลและเมล็ด การสุกแก่ของผลผลิต รวมถึงภูมิต้านทานในการต้านโรคและแมลงต่างๆ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก