Search
Close this search box.

งานวิจัย

การทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ พลูโต ไบโอกรีน ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโต

และต้านทานเชื้อ Phytophthora palmivora ในต้นกล้าทุเรียนพันธุ์หมอนทอง

   จากการทดลองสรุปได้ว่า การใช้ พลูโต ไบโอกรีน สามารถเพิ่มความสูง เพิ่มขนาดของลำต้นต้นกล้าและยังสามารถเพิ่มความต้านทานให้กันต้นกล้าทุเรียนต่อเชื้อ P. palmivora

การทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์พลูโต ไบโอกรีน ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโต

และต้านทานเชื้อ Phytophthora palmivora ในต้นกล้าทุเรียนพันธุ์หมอนทอง

   จากการทดลองสรุปได้ว่า การใช้ พลูโต ไบโอกรีน สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ดีที่สุดถึง 60% และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา P. palmivora ได้ดี

การทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์พลูโต ไบโอกรีน ต่อการต้านทานเชื้อ Pythium เชื้อ Fusarium และเชื้อ Corticium ในต้นกล้าทุเรียน

   จากการทดลองสรุปได้ว่า การใช้ พลูโต ไบโอกรีน สามารถควบคุมเชื้อ Pyhium เชื้อ Fusarium และเชื้อ Corticium ไม่ให้เชื้อราเจริญเติบโตได้

การศึกษาผลของการใช้สารปรับปรุงดิน พลูโต ไบโอกรีนร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมัน

   จากการทดลองสรุปได้ว่า เมื่อใช้ พลูโต ไบโอกรีน ร่วมกับการจัดการปุ๋ยส่งผลให้ต้นปาล์มน้ำมันมีการนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มพื้นที่ใบเพิ่มขึ้น

การศึกษาผลของการเสริมสารปรับปรุงดินพลูโต ไบโอกรีนร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน

   จากการทดลองสรุปได้ว่า การใช้ พลูโต ไบโอกรีน ให้น้ำหนักทะลายต่อหนึ่งทะลายของปาล์มโดยปาล์มที่ใส่พลูโต ไบโอกรีน 60 และ 40 กรัม ให้น้ำหนักทะลายปาล์มเฉลี่ย 16.20 และ 15.87 กิโลกรัม ตามลำดับ ในขณะที่ไม่ใส่พลูโต ไบโอกรีนให้น้ำหนักทะลายเพียง 14.12 กิโลกรัม/หนึ่งทะลาย

     ทดลอง 1 ปี กับต้นปาล์มที่ใส่พลูโต ไบโอกรีน 60 และ 40 กรัม ให้น้ำหนักทะลายปาล์มเฉลี่ย 31.84 และ 32.13 กิโลกรัมต่อต้นต่อเดือน ในขณะที่การไม่ใส่พลูโต ไบโอกรีน ให้น้ำหนักทะลายปาล์มเพียง 26.82 กิโลกรัมต่อต้นต่อเดือน

การใช้ พลูโต ไบโอกรีนเป็นวัตถุปรับปรุงโครงสร้างดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

การใช้ พลูโต ไบโอกรีนเป็นวัตถุปรับปรุงโครงสร้างดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

   จากการทดลอง การใช้ พลูโต ไบโอกรีน ต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด สรุปได้ว่า ในเดือนที่ 1  ต้นทดลองที่ใช้พลูโต ไบโอกรีน มีขนาดความสูงมากกว่า ต้นทดลองที่ไม่ได้ใช้พลูโต ไบโอกรีน

   

   ผลการทดลองการใช้พลูโต ไบโอกรีน ต่อองค์ประกอบทางผลผลิตข้าวโพด ผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว ต้นทดลองที่ใช้พลูโต ไบโอกรีน มีน้ำหนักมากกว่าต้นทดลองที่ไม่ได้ใช้พลูโต ไบโอกรีนผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวแห้ง ต้นทดลองที่ใช้พลูโต ไบโอกรีน มีน้ำหนักมากกว่าต้นทดลองที่ไม่ได้ใช้พลูโต ไบโอกรีน

Techno Demo Trial on the Effect of AA PROSOIL on the Grownth of and Yield Performance of Rice in Different Municipalities of Laguna

การวิจัยประสิทธิภาพของ เอเอ โปรซอย ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว

งานวิจัยข้าวจากสำนักงานเกษตร Laguna

     จังหวัดลากูนา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประสบกับปัญหาความเพียงพอของปริมาณข้าวอยู่ที่ 32% เท่านั้น(สถิติปี 2543) ถึงแม้ว่าเกษตรกรสามารเกี่ยวเก็บได้สูงสุด 5.2 ตัน/6.25ไร่ และต่ำสุดที่ 4.2 ตัน/6.25ไร่ จังหวัดลากูนาจึงต้องหาทางออกเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ

 

     ในปี 2551 ต้นทุนของปุ๋ยเคมีสูงขึ้นถึง 2 เท่าของราคาก่อนหน้านี้ ทำให้เกษตรอินทรีย์เป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง เพื่อช่วยเกษตรกรให้ได้ผลผลิตที่เหมาะสมโดยมีต้นทุนที่ต่ำลง ช่วยลดผลกระทบของสารเคมีที่ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม

 

     ทางจังหวัดลากูนา จึงได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ เอเอ โปรซอย กับทุ่งนาในจังหวัด เอเอ โปรซอย เป็นปุ๋ยชีวภาพที่สามารถปรับปรุงสภาพพืชได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ดินจะอ่อนนุ่ม ระบบรากจะดีขึ้นและพืชเติบโตเร็วและมีใบใหม่และเขียวกว่าเดิม และสามารถเก็บเกี่ยวได้เพิ่มขึ้น 15-20%

งานวิจัยข้าว ประโยชน์ของ AA โปรซอย

  รูป Figure 1: ประโยชน์ของ เอเอ โปรซอยปรับปรุงสภาพพืชให้ดีขึ้น ทำให้ดินนุ่มขึ้น ปรับปรุงระบบรากของพืชให้ดีขึ้น การเจริญเติบโตของพืชเร็วขึ้น

  รูป Figure 2: รอยเท้าบ่งบอกถึงสภาพดินที่แข็ง หากดินนุ่มจะไม่สามารถมองเห็นรอยเท้า

การแก้ปัญหา: ใช้ เอเอ โปรซอย จะช่วยให้ดินนุ่มขึ้นและปรับปรุงโครงสร้างของดิน

  รูป Figure 3: ฟองอากาศบ่งบอกถึงปริมาณปุ๋ยในน้ำสูง แต่พืชไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ได้

การแก้ปัญหา: ใช้ เอเอ โปรซอย ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน

  รูป Figure 4: เมื่อพืชไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้งานได้ ก็จะเกิดตะไคร้น้ำมาเจริญเติบโตเพื่อดูดซับปุ๋ยแทน พืชจะไม่ได้รับสารอาหารจากปุ๋ยและจะเน่าเสียในที่สุด

การแก้ปัญหา: ใช้ เอเอ โปรซอย ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน

รูปเปรียบเทียบใช้และไม่ใช้ AA โปรซอย

  รูป Figure 5: สภาพดินที่ใช้เอเอ โปรซอยมีความนุ่น ฟูมากกว่าดินที่ไม่ได้ใช้ เอเอ โปรซอย

  รูป Figure 6: ต้นที่ใช้เอเอ โปรซอย มีลำต้นและรากที่ใหญ่ขึ้นและแข็งแรงขึ้น ขนาดความสูงอยู่ที่ 63-79 ซม. แต่ต้นที่ไม่ได้ใช้เอเอ โปรซอยมีความสูงอยู่ที่ 46-66 ซม. เท่านั้

สถิติเปรียบเทียบใช้และไม่ใช้ AA โปรซอย

    รูป Figure 14: สถิติเปรียบเทียบระหว่างการปฏิบัติของเกษตรกรปกติกับการใช้เอเอ โปรซอย จะเห็นได้ว่า ความสูงของพืชในการเก็บเกี่ยว จำนวนรวงต่อไร่ จำนวนเมล็ดข้าว(เต็มเมล็ด)ต่อไร่ น้ำหนักเมล็ด และผลผลิตข้าว ไร่ที่ใช้เอเอ โปรซอย มีค่าทางสถิติมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

 

   รูป Figure 15: สถิติผลของการใช้เอเอ โปรซอย จะเห็นได้ว่า ความสูงของพืชในการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น 4%, ระยะแตกกอเพิ่มขึ้น 22%, จำนวนรวงต่อไร่เพิ่มขึ้น 19%, จำนวนเมล็ดข้าว(เต็มเมล็ด)ต่อไร่เพิ่มขึ้น 103%, น้ำหนักเมล็ด(น้ำหนักต่อ 1,000 เมล็ด/กรัม)เพิ่มขึ้น 36% และผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 33%

สรุปผลการใช้ AA โปรซอย

   ผลการทดลองใช้ เอเอ โปรซอย กับข้าว สรุปได้ว่า ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยที่ 33% และจากการวิเคราะห์ต้นทุน พบว่าเกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อ เอเอ โปรซอยเพิ่มขึ้นก็ตาม รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น 52% ถึงแม้ว่าพื้นที่ในการทดลองจะได้รับผลกระทบจากไวรัส Tungro (โรคใบสีส้ม)