Search
Close this search box.

Category: Nutrients Knowledge

ทัพเสริมที่ดีต้องยกให้ ฟอสฟอรัส
Nutrients Knowledge

ฟอสฟอรัสธาตุหลักที่พืชต้องการ

ฟอสฟอรัส      ฟอสฟอรัสเป็น 1 ใน 3 ธาตุอาหารพืชหลักที่พืชต้องการเป็นจำนวนมาก แต่ในดินกลับมีให้พืชดูดซึมขึ้นไปใช้ได้น้อย ที่เป็นแบบนั้นเพราะฟอสฟอรัสที่สะสมอยู่ในดินส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของฟอสเฟตหรือแร่ธาตุที่ละลายน้ำได้ยาก ซึ่งหากพืชต้องการที่จะดูดไปใช้จะต้องใช้ในรูปของฟอสเฟตไอออนที่ละลายอยู่ในน้ำแล้ว เพราะแบบนั้นฟอสฟอรัสจึงจัดอยู่ในหมวดของแร่ธาตุหลักที่ต้องการมากแต่มีอยู่ในดินน้อยนั่นเอง      โดยปกติฟอสฟอรัสจำเป็นกับพืชไม่แพ้ไนโตรเจนที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ และผล เพราะมันมีส่วนในการเจริญเติบโตของรากที่จะใช้หาน้ำและอาหารที่อยู่ในดิน ส่งเสริมการดูดซึมของแร่ธาตุอื่นๆ โดยเฉพาะไนโตรเจนและโมลิบตินัม ไม่เพียงเท่านั้นฟอสฟอรัสยังเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ช่วยในเรื่องของการออกดอกติดผล ดังจะเห็นได้ว่าในช่วงที่เราต้องการให้ต้นพืชของเราออกดอกเพื่อผสมเกสรแล้วได้ออกมาเป็นผลไม้ชนิดต่างๆ ในจังหวะนั้นเราจะลดการให้ไนโตรเจนลงและหันมาบำรุงด้วยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมแทน

Read More »
ไนโตรเจน ธาตุอาหารที่พืชขาดแล้วส่งผลกระทบร้ายแรง
Nutrients Knowledge

ไนโตรเจนธาตุที่จำเป็นต่อพืช

ไนโตรเจน      ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชทุกชนิด ถูกจัดเป็นหนึ่งในสามธาตุหลักที่พืชต้องใช้ในกระบวนการเติบโตของต้น โดยปกติธาตุไนโตรเจนจะพบได้มากในอากาศ แต่พืชไม่สามารถสังเคราะห์เอาไนโตรเจนเหล่านั้นมาใช้ได้โดยตรง ยกเว้นเพียงพืชตระกูลถั่วที่รากมีความพิเศษสามารถจับเอาไนโตรเจนในอากาศมาแปลงเป็นอาหารได้ ส่วนพืชชนิดอื่นๆ จึงต้องใช้ธาตุไนโตรเจนจากช่องทางอื่นๆ      โดยปกติทั่วไปแล้วในต้นพืชทุกชนิดมักมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชอยู่ในตัว ซึ่งจะมากน้อยแค่ไหนไม่สามารถกำหนดได้ การจะหวังพึ่งธาตุอาหารที่อยู่ในพืชอย่างเดียวจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะแบบนั้นจึงมีการคิดค้นเอาไนโตรเจนที่อยู่ในอากาศมาอัดเป็นเม็ดเกิดเป็นปุ๋ยเคมีที่เรียกว่า “ปุ๋ยยูเรีย” หรือ “ปุ๋ยสูตร 46 – 0 – 0” ในปุ๋ยชนิดนี้จะมีไนโตรเจนอยู่อย่างเข้มข้นมาก

Read More »
โพแทสเซียม ธาตุที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของพืช
Nutrients Knowledge

โพแทสเซียมช่วยส่งเสริมการทำงานของพืช

โพแทสเซียม      หากเปรียบต้นพืชเป็นเครื่องจักรสำหรับผลิตอาหาร ธาตุโพแทสเซียมก็เป็นเสมือนน้ำมันที่ช่วยให้การทำงานของกลไกต่างๆ เป็นไปอย่างราบลื่น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจ กระบวนการสังเคราะห์แป้งและโปรตีนด้วยการเข้ากระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ แถมยังคอยลำเลียงอาหารที่ผลิตได้ในรูปของแป้งและน้ำตาลไปเก็บสะสมในผลและลำต้นอีกด้วย ซึ่งทำให้ผลผลิตของเราออกมาได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังเป็นตัวควบคุมความดันภายในเซลล์พืช เกี่ยวข้องกับการดูดและคายน้ำของพืชในกระบวนการเปิดปิดปากใบด้วย      โดยปกติเราจะพบโพแทสเซียมได้ในรูปของหินและแร่ธาตุหลายชนิดในดิน แต่พืชไม่สามารถดูดโพแทสเซียมในสิ่งเหล่านั้นมาใช้ได้ในทันทีเหมือนๆ กับธาตุฟอสฟอรัส ต้องแตกตัวอยู่ในรูปของโพแทสเซียมไอออนที่ละลายไปกับน้ำเพื่อดูดซึม ทว่ามันมีความแตกต่างที่ทำให้ดูดซึมได้ง่ายกว่า ด้วยโพแทสเซียมที่ถูกดูดติดไว้กับอนุภาคของดินเหนียวทำให้รากพืชสามารถที่จะดูดเอามาใช้งานได้เลย เพราะแบบนั้นในสภาพที่ดินมีเนื้อละเอียดที่สูงจึงทำให้มีธาตุโพแทสเซียมมีมากกว่าในสภาพดินที่มีเนื้อหยาบอย่างดินทราย ฉะนั้นแล้วการใส่โพแทสเซียมจึงสามารถคลุกเคล้าไปกับดินได้เลย    

Read More »
แคลเซียม ธาตุอาหารรองที่ไม่เป็นรอง
Nutrients Knowledge

แคลเซียมธาตุที่จำเป็นต่อพืช

แคลเซียม       แคลเซียมเป็นธาตุอาหารรองแต่มีความสำคัญต่อพืชไม่แพ้ธาตุอาหารหลักอย่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเลย แต่ที่ถูกจัดให้เป็นอาหารรองเนื่องด้วยเพราะปริมาณธาตุแคลเซียมซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของดินมีอยู่มากเพียงพอแล้ว ไม่เหมือนกับสามธาตุหลักที่ละลายเป็นในดินไม่เพียงพอแต่พืชต้องการในปริมาณที่มาก เว้นแต่ในดินที่มีความเป็นกรดสูงและดินเหนียวจะทำให้พืชดูดธาตุนี้ไปใช้ได้ยาก ทำให้ต้นพืชขาดธาตุนี้ได้นั่นเอง      หน้าที่ของธาตุแคลเซียมต่อต้นพืช คือ การแบ่งเซลล์จำพวกเนื้อเยื่อเจริญทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นปลายยอด ปลายราก ใบอ่อน รวมถึงส่งผลต่อการแตกตาของกิ่งอ่อน ตาดอก และการเจริญของดอกและผลด้วย นั่นเพราะธาตุแคลเซียมเป็นส่วนหนึ่งของผนังเซลล์พืชที่เรียกว่า “แคลเซียมเพคเตต” ซึ่งมีส่วนอย่างมากในการป้องกันการเข้าทำลายของโรคและแมลง

Read More »
แมกนีเซียม กลไกสำคัญในการสังเคราะห์แสง
Nutrients Knowledge

แมกนีเซียมกับการสังเคราะห์แสง

แมกนีเซียม      ส่วนเขียวๆ ที่เรามองเห็นจากต้นพืชเกิดจากสารที่เรียกว่าคลอโรฟิลล์ ซึ่งสารชนิดนี้ไม่ได้มีดีเพียงแค่ให้พืชมีสีเขียวที่เป็นสัญลักษณ์ประจำตัวหรือบ่งบอกสุขภาพของพืชเท่านั้น แต่คลอโรฟิลล์ยังมีหน้าที่ในการเปลี่ยนน้ำและก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นอาหารของพืชด้วยพลังงานจากแสงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า “การสังเคราะห์แสง”      เราจึงจะเห็นได้ว่าการขาดธาตุแมกนีเซียมอาจส่งผลให้ต้นพืชของเราอดอาหารตายได้เลยทีเดียว ด้วยเพราะธาตุชนิดนี้เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ และไม่มีเพียงเท่านี้แมกนีเซียมยังมีหน้าที่กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ ช่วยเคลื่อนย้ายฟอสฟอรัส ช่วยให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตในสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงกว่าปกติ ช่วยต้านทานโรคพืช และมีส่วนสำคัญในการสุกแก่ของผลผลิตอีกด้วย      อาการขาดแมกนีเซียมจะแสดงให้เห็นได้ที่ใบแก่เหลืองเป็นรูปลิ่มจากปลายมายังโคน หรือในพืชบางชนิดใบจะซีดจางและเส้นใบยังเขียวชัดเจน ขอบใบเป็นสีน้ำตาล ปลายใบไหม้ หากขาดมากจะส่งผลให้ใบร่วงอย่างรวดเร็ว

Read More »
ธาตุกำมันถันที่มีอยู่น้อยแต่พืชขาดไม่ได้
Nutrients Knowledge

อาการขาดธาตุกำมะถันในพืช

ธาตุกำมะถัน      กำมะถัน…อีกหนึ่งธาตุอาหารรองของพืช ที่ถูกจัดให้เป็นเช่นนั้นนั่นเพราะธาตุกำมะถันพืชต้องการน้อยแต่ขาดไม่ได้!! ที่ขาดไม่ได้นั่นเพราะกำมะถันเป็นองค์ประกอบสำคัญของสารอาหารต่างๆ ในพืช ไม่ว่าจะเป็น กรดอะมิโน ไวตามิน เป็นต้น ซึ่งใช้น้อยแต่หากขาดไปอาจทำให้สารหล่อเลี้ยงเหล่านั้นไม่เกิดเลยทีเดียว อาการขาดกำมะถันมีดังนี้• การเจริญเติบโตหรือขนาดใบเล็กลง• ใบมีสีเหลืองซีดจนถึงขาวทั้งใบ• หากขาดรุนแรงมากอาจก่อให้เกิดอาการเหี่ยวและลำต้นเล็กลงได้ ซึ่งสภาพพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจะขาดแร่ธาตุนี้คือพื้นที่ที่มีอินทรียวัตถุน้อย อย่างเช่น พื้นที่แห้งแล้ง พื้นที่ที่มีฝนตกปานกลางจนถึงหนักมาก วิธีแก้อาการขาดธาตุกำมะถันทำได้ ดังนี้     เนื่องจากพื้นที่ที่มีอินทรียวัตถุอยู่น้อยเสี่ยงทำให้เกิดการขาดธาตุตัวนี้ ดังนั้นเราจึงควรที่จะต้องเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

Read More »
จุลอาหารพืช ธาตุทองแดง
Nutrients Knowledge

อาการขาดธาตุทองแดงในพืช

ธาตุทองแดง      ทองแดงเป็นอีกหนึ่งในสารอาหารพืชที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในเรื่องของของการสังเคราะห์แสง สร้างคลอโรฟิลล์ ระบบหายใจ ระบบสืบพันธุ์ซึ่งจะส่งผลต่อการออกของผลผลิต หรือแม้แต่การขยายพันธุ์พืชต่อไปด้วย อาการขาดธาตุทองแดงของพืช• ใบเข้มผิดปกติ บางครั้งอาจมองเห็นเป็นจ้ำๆ สีน้ำเงิน• ขอบใบม้วนขึ้นด้านบน• สีใบค่อยๆ ซีดจากปลายใบแต่เส้นกลางใบยังเขียวอยู่ ต่อมาใบจะเริ่มแห้งและตายในที่สุด• ยอดเกิดใหม่แห้งตายจากปลายยอด• บางครั้งมีอาการเหี่ยวเฉาเหมือนขาดน้ำ แต่เมื่อรดน้ำแล้วก็ไม่สดชื่นขึ้นเหมือนอย่างที่ควรจะเป็น สภาพดินที่อาจทำให้พืชขาดธาตุทองแดงได้มีดังนี้• ดินที่มีถ่านปน• ดินทราย• ดินปนหิน• ดินที่มีอินทรียวัตถุสูงมากๆ•

Read More »
จุลอาหารพืช ธาตุสังกะสี
Nutrients Knowledge

ธาตุสังกะสีกับพืช

ธาตุสังกะสี       ธาตุสังกะสีเป็นอีกหนึ่งธาตุที่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์แสงของพืช นอกจากนี้ยังช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน แป้งและน้ำตาล หากขาดธาตุชนิดนี้ไปอาจส่งผลให้ฮอร์โมน IAA ในพืชลดต่ำทำให้ตายอดลดลง ข้อปล้องไม่ขยาย ใบขึ้นซ้อนกันเนื่องจากลำต้นไม่ยืด แคระแกรน ระบบรากชะงักทำให้การเจริญเติบโตชะงักตามไปด้วย ซึ่งหากร้ายที่สุดจะนำไปสู่การไม่ให้ผลผลิตเลยนั่นเอง อาการขาดธาตุสังกะสีที่สามารถสังเกตได้คือ• ลำต้นแคระแกรน ข้อปล้องสั้น• ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ เซลล์แห้งตายเป็นจุดๆ ม้วนงอผิดรูปร่าง ซึ่งจะเกิดที่ใบล่างหรือใบแก่• หากขาดรุนแรงจะไม่ให้ผลผลิตหรือต้นตาย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้พืชได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ• อุณหภูมิและความเข้มของแสงต่ำ•

Read More »
จุลอาหารพืช ธาตุแมงกานีส
Nutrients Knowledge

อาการของพืชที่ขาดธาตุแมงกานีส

ธาตุแมงกานีส      ดินเหนียวจัดว่าเป็นดินที่มีแร่ธาตุอาหารอยู่ในปริมาณเข้มข้น มีความอุดมสมบูรณ์ที่สูง แต่แร่ธาตุบางตัวก็ไม่ออกหลุดออกจากดินเพื่อไปเลี้ยงบำรุงต้นพืชได้ เช่นเดียวกับกรณีของธาตุแมงกานีสนี่ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากพืชไม่ได้รับในปริมาณที่พอเหมาะจะส่งผลต่อการออกช่อดอก ขนาดผลและเมล็ด การสุกแก่ของผลผลิต รวมถึงภูมิต้านทานในการต้านโรคและแมลงต่างๆ ด้วย อาการที่บ่งบอกว่ากำลังขาดธาตุแมงกานีสมีดังนี้• ใบอ่อนมีอาการคล้ายกับธาตุเหล็ก คือ ใบเหลืองซีดในขณะที่เส้นใบยังเขียวปกติ บนใบอาจมีจุดสีน้ำตาลร่วมด้วย หรือใบอาจจะม้วนงอได้• ลำต้นแคระแกรน• ในพวกธัญพืชใบจะเป็นจุดสีเทา• ในจำพวกอ้อยใบจะเป็นขีดโปร่งแสง• ตาข้างแตกกิ่งมากกว่าปกติ• อาจทำให้มีอาการขาดธาตุแคลเซียมที่ใบอ่อนร่วมด้วย

Read More »
จุลอาหารพืช ธาตุคลอรีน
Nutrients Knowledge

อาการขาดธาตุคลอรีนในพืช

ธาตุคลอรีน      คลอรีนเป็นธาตุอาหารพืชที่สามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป และมีคำเตือนในหมู่เกษตรกรบางกลุ่มว่าไม่ควรเอาน้ำปะปารดน้ำต้นไม้ นั่นเพราะน้ำประปามักจะมีคลอรีนผสมอยู่ซึ่งหากใช้รดมากๆ และบ่อยครั้งเข้าอาจทำให้พืชของเราอยู่ในสภาวะคลอรีนเป็นพิษนั่นเอง อาการคลอรีนเป็นพิษ      ปลายหรือขอบใบจะมีอาการใบไหม้ ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงหล่นก่อนกำหนด ขนาดใบจะเล็กลง การเจริญเติบโตชะงัก ส่วนอาการขาดคลอรีนที่เป็นไปได้น้อยมาก แต่ก็อาจจะเป็นไปได้      ต้นพืชจะเหี่ยวเหมือนขาดน้ำ ใบค่อยๆ เหลืองหรือเปลี่ยนเป็นสีบรอนซ์เงิน รากจะค่อยๆ แคระแกรนและบางลงบริเวณใกล้ปลายราก วิธีแก้ไขอาการขาดน้ำ  

Read More »