Search
Close this search box.

Category: Knowledge

วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์เอเอ โปรซอยกับสตรอว์เบอร์รี่
Strawberry Knowledge

วิธีการใช้AAกับสตรอว์เบอร์รี่

วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์พลูโตกับสตรอว์เบอร์รี่ ช่วงการเตรียมดิน (ช่วงยกร่อง)ช่วงไถพรวนเตรียมแปลง วิธีที่ 1: ใช้ เอเอ 500 กรัม ( 1 ซอง) หว่านให้ทั่วแปลง พร้อมไถพรวน ก่อนยกร่องปลูก หรือวิธีที่ 2: ใช้ เอเอ 500 กรัม (1ซอง) ผสมกับเนื้อปุ๋ยอินทรีย์หรือ ปุ๋ยอื่นๆ คลุกให้ทั่วหว่านให้ทั่วปรับสภาพดินก่อนยกร่องปลูก

Read More »
ทุเรียนต้นคู่
Durian Knowledge

ทุเรียนต้นคู่

ทุเรียนต้นคู่       โลกในทุกวันนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ทั้งสภาพอากาศซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่นๆ ในการปลูกพืชผล การพัฒนาเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นปากท้องของผู้คนทั่วโลกจึงไม่เคยหยุดยั้ง ในปัจจุบันวงการทุเรียนก็ได้มีการปฏิวัตินำแนวคิดปลูกทุเรียนต้นคู่มาใช้ เริ่มจากแปลงเกษตรกรดีเด่นอย่างคุณธีรภัทร อุ่นใจ ปลูกจริงและได้ผลผลิตจริงแล้ว!      จากแนวคิดที่จะป้องกันต้นทุเรียนล้มเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนและมีลมแรงมากขึ้นพร้อมๆ กับเพิ่มผลผลิตทุเรียนให้กับเกษตรกรไปด้วย คุณธีรภัทร อุ่นใจ จึงได้นำแนวคิดของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยองมาปรับใช้ในสวนของตัวเอง โดยการปลูกทุเรียนสองต้นต่อหนึ่งหลุมปลูก ตัวต้นมีระยะห่างกันอยู่ที่ 1 เมตร

Read More »
ทุเรียนไร้หนาม
Durian Knowledge

เมื่อทุเรียนไร้หนาม

ทุเรียนไร้หนาม      หากให้นึกภาพทุเรียนสิ่งที่หลายคนนึกออกย่อมเป็น “หนาม” ที่เป็นเหมือนเอกลักษณ์ของผลไม้แสนอร่อยถูกใจใครหลายๆ คนนี้ แต่ขั้นตอนการที่จะได้รับประทานมันกลับยากยิ่งกว่าผลไม้ไหนๆ และเพราะความโดดเด่นเหล่านี้ทำให้ทุเรียนนั่งแท่นกลายเป็นราชาของมวลผลไม้ไป แต่จะมีใครคาดคิดบ้างไหมว่า…ถ้าทุเรียนไม่มีหนามนั่นจะเป็นเช่นไร?      หน้าตาจะเป็นแบบไหน? แล้วรสชาติละจะเป็นอย่างไร? จะเปลี่ยนไปแบบหน้าตาหรือเปล่า?      คำตอบเหล่านี้กำลังจะถูกค้นพบที่เมืองลับแลถิ่นทุเรียนเมืองเหนือชื่อดังที่มีทุเรียนราคาแพงอย่างพันธุ์หลงลับแลและพันธุ์หลินลับแล และตอนนี้ชาวสวนที่นั้นได้หยิบเอานวัตกรรมเก่ามาใช้จากในอดีต นั้นคือ “ทุเรียนไร้หนาม” แนวคิดและไอเดียที่ไม่เหมือนใครของคุณเสรี สุกสา ชาวสวนทุเรียนเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

Read More »
ความสำคัญของการจัดสวนทุเรียน
Durian Knowledge

ความสำคัญของการจัดสวนทุเรียน

ความสำคัญของการจัดสวนทุเรียน      “การเรียนรู้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เป็นวิธีลัดไปสู่ความสำเร็จของเราได้เร็วที่สุด” แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายวงการอาชีพ คล้ายๆ กับคำกล่าวในของนักปราชญ์ชาวจีนโบราณที่ว่า …รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง และในวันนี้เราจะนำแนวปฏิบัติของปราชญ์แห่งเมืองแกลง จังหวัดระยอง ในการทำสวนทุเรียนมาเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะทำให้เราได้รับซึ่งชัยชนะ      คุณลุงเสด ใจดี ผู้ถูกขนานนามว่า “ปราชญ์ผลไม้” ผู้ได้รับการยกย่องจากสำนักเกษตรอำเภอแกลง จ.ระยอง ให้สวนทุเรียนหมอนทองของคุณลุงเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการดูแลจัดการสวนทุเรียนคุณภาพ ซึ่งแนวปฏิบัติของคุณลุงมีดังนี้ค่ะ    

Read More »
วิธีการปลูกทุเรียนขุดหลุมหรือยกโคน
Durian Knowledge

เลือกปลูกทุเรียน แบบขุดหลุมหรือยกโคน

การปลูกทุเรียน แบบขุดหลุมกับแบบยกโคน      การปลูกทุเรียน ลงแปลงที่เกษตรกรนิยมปลูกในปัจจุบันมีด้วยกัน 2 วิธี นั่นคือ การปลูกแบบขุดหลุมปลูกกับการปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคน      การปลูกแบบขุดหลุม เป็นการปลูกที่เหมาะกับพื้นที่ที่ค่อนข้างแห้งแล้ง(ต้องแห้งแล้งติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือนจึงจะเหมาะในการปลูกทุเรียน) สภาพดินไม่เคยมีการระบาดของโรค ไม่มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ น้ำใต้ดินอยู่ลึก ซึ่งการปลูกแบบนี้จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าอีกแบบแน่นอน โดยจะขุดหลุมลึกประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วกลบดินให้พอดีดินเดิมที่ติดมากับต้นกล้าทุเรียน(ขณะลงปลูกต้องระวังไม่ให้ดินให้ถุงแตกจนสร้างความเสียกับรากด้วย)  

Read More »
ให้น้ำให้ปุ๋ยทุเรียนเหมาะสมทำให้ทุเรียนโตดี
Durian Knowledge

การให้ปุ๋ยและน้ำที่เหมาะสมแก่ทุเรียน

ให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างเหมาะสมช่วยให้ทุเรียนโตดี เคยเจอปัญหาที่ว่า… “ปุ๋ยถึง น้ำถึง แต่ต้นทุเรียนก็ยังโทรม” อยู่ไหม?      ซึ่งปัญหาที่เกิดล้วนเป็นไปได้หลากหลายกรณี ทั้งเกิดจากโรคพืชและแมลงเข้าทำลาย หรือสภาพดินที่อาจจะไม่เอื้อต่อการปลูก หรือรากทุเรียนมีปัญหาขณะขนย้ายหรือเอาลงปลูกทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่ชะงัก ทว่า…อีกสิ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลยอย่างสิ่งใกล้ตัวนั้นก็คือ…การให้ปุ๋ยและน้ำที่พอเหมาะพอควรและถูกช่วงเวลาหรือไม่? วันนี้เราจึงขอนำวิธีและปริมาณที่เหมาะสมในการให้น้ำและปุ๋ยของสถาบันวิจัยพืชสวนมาบอกต่อเพื่อนำไปปรับใช้กันค่ะ      ทุเรียนก็เหมือนกับผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่แต่ละช่วงระยะเวลามีความต้องการอาหารที่มากน้อยแตกต่างกัน อย่างในช่วง 1 – 5 ปี เป็นช่วงที่ต้นทุเรียนกำลังมีการเจริญเติบโตเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับโครงสร้างต่าง เพื่อให้พร้อมต่อการที่จะออกดอกออกผลในอนาคตต่อไป

Read More »
ทัพเสริมที่ดีต้องยกให้ ฟอสฟอรัส
Nutrients Knowledge

ฟอสฟอรัสธาตุหลักที่พืชต้องการ

ฟอสฟอรัส      ฟอสฟอรัสเป็น 1 ใน 3 ธาตุอาหารพืชหลักที่พืชต้องการเป็นจำนวนมาก แต่ในดินกลับมีให้พืชดูดซึมขึ้นไปใช้ได้น้อย ที่เป็นแบบนั้นเพราะฟอสฟอรัสที่สะสมอยู่ในดินส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของฟอสเฟตหรือแร่ธาตุที่ละลายน้ำได้ยาก ซึ่งหากพืชต้องการที่จะดูดไปใช้จะต้องใช้ในรูปของฟอสเฟตไอออนที่ละลายอยู่ในน้ำแล้ว เพราะแบบนั้นฟอสฟอรัสจึงจัดอยู่ในหมวดของแร่ธาตุหลักที่ต้องการมากแต่มีอยู่ในดินน้อยนั่นเอง      โดยปกติฟอสฟอรัสจำเป็นกับพืชไม่แพ้ไนโตรเจนที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ และผล เพราะมันมีส่วนในการเจริญเติบโตของรากที่จะใช้หาน้ำและอาหารที่อยู่ในดิน ส่งเสริมการดูดซึมของแร่ธาตุอื่นๆ โดยเฉพาะไนโตรเจนและโมลิบตินัม ไม่เพียงเท่านั้นฟอสฟอรัสยังเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ช่วยในเรื่องของการออกดอกติดผล ดังจะเห็นได้ว่าในช่วงที่เราต้องการให้ต้นพืชของเราออกดอกเพื่อผสมเกสรแล้วได้ออกมาเป็นผลไม้ชนิดต่างๆ ในจังหวะนั้นเราจะลดการให้ไนโตรเจนลงและหันมาบำรุงด้วยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมแทน

Read More »
ไนโตรเจน ธาตุอาหารที่พืชขาดแล้วส่งผลกระทบร้ายแรง
Nutrients Knowledge

ไนโตรเจนธาตุที่จำเป็นต่อพืช

ไนโตรเจน      ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชทุกชนิด ถูกจัดเป็นหนึ่งในสามธาตุหลักที่พืชต้องใช้ในกระบวนการเติบโตของต้น โดยปกติธาตุไนโตรเจนจะพบได้มากในอากาศ แต่พืชไม่สามารถสังเคราะห์เอาไนโตรเจนเหล่านั้นมาใช้ได้โดยตรง ยกเว้นเพียงพืชตระกูลถั่วที่รากมีความพิเศษสามารถจับเอาไนโตรเจนในอากาศมาแปลงเป็นอาหารได้ ส่วนพืชชนิดอื่นๆ จึงต้องใช้ธาตุไนโตรเจนจากช่องทางอื่นๆ      โดยปกติทั่วไปแล้วในต้นพืชทุกชนิดมักมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชอยู่ในตัว ซึ่งจะมากน้อยแค่ไหนไม่สามารถกำหนดได้ การจะหวังพึ่งธาตุอาหารที่อยู่ในพืชอย่างเดียวจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะแบบนั้นจึงมีการคิดค้นเอาไนโตรเจนที่อยู่ในอากาศมาอัดเป็นเม็ดเกิดเป็นปุ๋ยเคมีที่เรียกว่า “ปุ๋ยยูเรีย” หรือ “ปุ๋ยสูตร 46 – 0 – 0” ในปุ๋ยชนิดนี้จะมีไนโตรเจนอยู่อย่างเข้มข้นมาก

Read More »
โพแทสเซียม ธาตุที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของพืช
Nutrients Knowledge

โพแทสเซียมช่วยส่งเสริมการทำงานของพืช

โพแทสเซียม      หากเปรียบต้นพืชเป็นเครื่องจักรสำหรับผลิตอาหาร ธาตุโพแทสเซียมก็เป็นเสมือนน้ำมันที่ช่วยให้การทำงานของกลไกต่างๆ เป็นไปอย่างราบลื่น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจ กระบวนการสังเคราะห์แป้งและโปรตีนด้วยการเข้ากระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ แถมยังคอยลำเลียงอาหารที่ผลิตได้ในรูปของแป้งและน้ำตาลไปเก็บสะสมในผลและลำต้นอีกด้วย ซึ่งทำให้ผลผลิตของเราออกมาได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังเป็นตัวควบคุมความดันภายในเซลล์พืช เกี่ยวข้องกับการดูดและคายน้ำของพืชในกระบวนการเปิดปิดปากใบด้วย      โดยปกติเราจะพบโพแทสเซียมได้ในรูปของหินและแร่ธาตุหลายชนิดในดิน แต่พืชไม่สามารถดูดโพแทสเซียมในสิ่งเหล่านั้นมาใช้ได้ในทันทีเหมือนๆ กับธาตุฟอสฟอรัส ต้องแตกตัวอยู่ในรูปของโพแทสเซียมไอออนที่ละลายไปกับน้ำเพื่อดูดซึม ทว่ามันมีความแตกต่างที่ทำให้ดูดซึมได้ง่ายกว่า ด้วยโพแทสเซียมที่ถูกดูดติดไว้กับอนุภาคของดินเหนียวทำให้รากพืชสามารถที่จะดูดเอามาใช้งานได้เลย เพราะแบบนั้นในสภาพที่ดินมีเนื้อละเอียดที่สูงจึงทำให้มีธาตุโพแทสเซียมมีมากกว่าในสภาพดินที่มีเนื้อหยาบอย่างดินทราย ฉะนั้นแล้วการใส่โพแทสเซียมจึงสามารถคลุกเคล้าไปกับดินได้เลย    

Read More »